สรุปรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุรถเก๋งชนรถกระบะ บริเวณเนิน บ้านหนองผักแว่น ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี (วันที่ 22 มิถุนายน 2566) โดย ทีมแพทย์เวชศาสตร์การจราจร สถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา กรมควบคุมโรค

Published by

on

 

สรุปรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุรถเก๋งชนรถกระบะ บริเวณเนิน บ้านหนองผักแว่น ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
(วันที่ 22 มิถุนายน 2566) 
โดย ทีมแพทย์เวชศาสตร์การจราจร สถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา กรมควบคุมโรค

บัดนี้คณะสอบสวนโรคจากสถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา กรมควบคุมโรค ได้จัดทำรายงานสอบสวนอุบัติเหตุรายงานสอบสวนอุบัติเหตุรถเก๋งชนรถกระบะ บริเวณเนิน บ้านหนองผักแว่น ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 22 มิถุนายน 2566  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ของการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ เสียชีวิตและปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บ เสียชีวิต พร้อมเสนอแนวทางการควบคุมป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุในอนาคต

ข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไข

ด้านคน

1.ผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ต้องเข้าใจกับเครื่องหมายจราจรโดยละเอียด เนื่องจากเครื่องหมายจราจรต่างๆนั้น มีความสำคัญต่อ  

   การขับขี่ และความปลอดภัยของผู้ขับขี่เป็นอย่างมาก

2.ควรมีการให้ความรู้ หรือแจ้งเตือนผู้ขับขี่อยู่เสมอ เรื่องการง่วงไม่ขับ เช่น บอกถึงโทษของการขับขี่โดยขาดสติ สัมปชัญญะ ให้

  ความรู้ที่ถูกต้องในการเตรียมตัวเองให้พร้อมเมื่อต้องขับขี่รถ และความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่างๆบนท้องถนน เช่น ให้  ความรู้ด้านการใช้รถใช้ถนน แก่แพทย์เพิ่มพูนทักษะ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

3.สถาบันแพทย์ ควรมีมาตรการในการประเมินบุคลากรทางการแพทย์ในเรื่องของการพักผ่อน จัดและปรับตารางการทำงาน

  ของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการเหนื่อยล้า

4. ผู้ขับขี่ควรประเมินตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลความพร้อมของร่ายกาย โดยเฉพาะก่อนการขับรถในถนนที่ไม่เคยขับ

    และมีระยะเวลาการเดินทางมากกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป

ด้านยานพาหนะ

1.ผู้ขับขี่ควรจะต้องตรวจเช็ค ดูแลความพร้อมของรถเป็นระยะๆ รวมทั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยต่างๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เช่น ระบบเบรก เกียร์ ยาง ล้อ เข็มขัดนิรภัย ระยะน้ำมันเครื่อง ก่อนการเดินทางในทุกๆ ครั้ง

2.มีด่านตรวจบริเวณเส้นทางระหว่างอำเภอสู่อำเภอ เป็นระยะๆ เช่น การสุ่มตรวจการคาดเข็มขัดนิรภัย ความพร้อมของคนขับรถ เป็นต้น

ด้านถนนและสิ่งแวดล้อม

1. ถนนบริเวณเส้นทางจราจรทางหลวงปลักประดู่ – ม่วงเฒ่าฯ หรือ อำเภอ สู่อำเภอต่างๆ  ต้องมีการเช็คสภาพท้องถนน เป็น

  ระยะๆ ทั้งก่อน ระหว่าง และการแก้ไขความปลอดภัยถนน  (Road safety audit) รวมถึงถ้ามีปัญหาควรรีบแก้ไข เพื่อความ  

  ปลอดภัยบนท้องถนนของผู้ขับขี่

2. ควรมีการติดไฟถนนขนาบ 2 ข้างทาง เนื่องจากขณะนี้เส้นทางดังกล่าวจะมืดสนิทในเวลากลางคืน  เพราะไฟถนนขนาบข้าง

  ทำให้วิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่ลดลง เป็นสาเหตุให้เพิ่มอันตรายบนท้องถนนมากขึ้น

3. นำผลการศึกษาจากการสอบสวนอุบัติเหตุไปมอบแก่กรมทางหลวงชนบท เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่อไป

4. ขณะไปสอบสวนอุบัติเหตุ พบว่า ได้มีการตีเส้นถนนและไหล่ทาง รวมถึงปรับผิวถนนแล้ว ทำระดับความปลอดภัยของถนนเพิ่มขึ้นเป็น 2 ดาว ทั้งนี้ ทางคณะสอบสวนฯ ได้หารือกับตัวแทนของกรมทางหลวง ซึ่งเป็นเจ้าของถนน ในการจัดการความปลอดภัยให้เพิ่มขึ้นต่อไป เช่น การทำเส้นชะลอความเร็ว การขยายถนน ฯลฯ โดยจะมีการปรึกษากับฝ่ายออกแบบถนนอีกครั้ง

.

ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลของการเรียนรู้การขับรถในถนนหนทางที่ไม่คุ้นเคยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์ฝึกหัด แพทย์เพิ่มพูนทักษะ และแพทย์ประจำบ้าน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดต่างๆ ให้คำนึงถึงการศึกษาเส้นทาง สิ่งแวดล้อมและเครื่องหมายจราจรโดยละเอียด และประเมินสภาพถนนก่อนเดินทาง ให้การขับขี่เป็นไปอย่างปลอดภัยในการขับรถในถนนในส่วนภูมิภาค เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุการจราจรต่อไป